วิสัยทัศน์ พันธกิจ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วิสัยทัศน์
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นองค์กรผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและได้
มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

พันธกิจ

  1. จัดและส่งเสริมและพัฒนาการอาชีวศึกษาและการอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
  2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานกำลังคนสายอาชีพสู่สากล
  3. ขยายโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพให้ทั่วถึง ต่อเนื่อง เสมอภาค และเป็นธรรม
  4. เป็นแกนกลางในการจัดอาชีวศึกษาและอบรมวิชาชีพ ระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยีของประเทศ
  5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ
  6. วิจัย สร้างนวัตกรรม จัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
  7. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีศักยภาพสูงขึ้นและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
“ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน”

  1. การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
    1.1 ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center
    of Vocational Manpower Networking Management : CVM) และความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา
    (Excellent Center) เพื่อการพัฒนากำลังคนตามบริบทเชิงพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
    และการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
    1.2 พัฒนาสมรรถนะอาชีพในทักษะอนาคต (Future Skills) โดยการ Up-Skill Re-Skill และ NewSkill และการเป็นผู้ประกอบการ ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ ( Career&
    Entrepreneurship Center : CEC)
    1.3 สร้างความเข้มแข็งระบบความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการพัฒนาคุณภาพ
    การจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นและมีคุณภาพ
  2. การยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
    2.1 ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานในภาพรวมของจังหวัด โดยใช้
    Big Data กำลังคนในพื้นที่ สอดคล้องตามความต้องการกำลังคนและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและ
    อุตสาหกรรมของประเทศ
    2.2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษา
    แบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
    2.3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติการสะสมหน่วย การ
    เรียนรู้ (Credit Bank) และการต่อยอดองค์ความรู้และสมรรถนะใหม่ หรืออาชีพใหม่ (New Job/Future Job)
    2.4 พัฒนาทักษะวิชาชีพผู้เรียนอาชีวศึกษาผ่านการฝึกประสบการณ์และการปฏิบัติงาน จริง
    มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ รองรับมาตรฐานอาชีพผู้สำเร็จ
    อาชีวศึกษา
    2.5 ขยายโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้กับเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการอย่าง
    ครอบคลุมเสมอภาค และเท่าเทียมกัน
    2.6 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในสถาน
    ประกอบการปัจจุบัน การใช้และสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัยในโลกดิจิทัลและโลกอนาคต
    2.7 ยกระดับการดำเนินงานโครงการห้องเรียนอาชีพ ทั้งในรูปแบบหลักสูตรอาชีพระยะสั้นและ
    รูปแบบการจัดการเรียนการสอนอาชีพที่ผู้เรียนสายสามัญสามารถนำหน่วยกิตไปใช้ในการศึกษาต่อสายอาชีพ
    หรือนำไปสู่การประกอบอาชีพได้
    2.8 ยกระดับการดำเนินงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fixit Center) และเพิ่มประสิทธิภาพ
    แอพพลิเคชั่นช่างอาชีวะ “ช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย” ให้เข้าถึงและครอบคลุมการให้บริการแก่ประชาชน

ปีการศึกษา 2564